|
 |
ตลาดเก่าศรีประจันต์
แต่เดิม ก็คือชุมชนริมฝั่งแม่น้ำสุพรรณบุรี (ท่าจีน) ฝั่งตะวันออก เป็นที่ค้าขายสินค้าที่ผู้คนทั่วไปมักจะมาแวะซื้อข้าวของเครื่องใช้ อาทิ ข้าวสารอาหารแห้ง ผักสด ปลา เป็นหมากพลู ผลไม้ เสื้อผ้าและของใช้ที่จำเป็นจากที่ต่างๆ ฯลฯ มาซื้อขายแลกเปลี่ยนกันอยู่เป็นประจำ จนทำให้กลายเป็นตลาดย่อม ๆ อีกทั้งบริเวณด้านใต้วัดยางจะมีหาดทราย ในระหว่างที่เรือสินค้าจอดรอน้ำขึ้น ลง ทางการจึงตั้งด่านเก็บภาษีจากเรือ ที่วิ่งผ่าน จึงเรียกด่านนี้ว่า ด่านขนอน (บ้านหัวขนอน ในปัจจุบัน)ซึ่งเมื่อการซื้อขายสินค้าเจริญเติบโตมากขึ้นเจ้าของที่ดินจึงได้ สร้างห้องไม้ชั้นเดียวขึ้น ทางด้านเหนือของหมู่บ้านให้เช่าทำการค้า เรียกว่าตลาดเหนือ |
|
 |
ตลาดสามชุก สุพรรณบุรี
ตลาดสามชุก สุพรรณบุรี ได้รับรางวัลอนุรักษ์ดีจากยูเนสโก ปี 52 แผนที่เดินทางไปไม่ไกลจากกรุงเทพ สามารถไปกลับได้ ตลาดสามชุกเดิมเป็นตลาดสำคัญในการติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า ที่สำคัญในอดีตตั้งแต่เมื่อ 100 กว่าปี ก่อนนักท่องเที่ยวจะสามารถสัมผัสได้ไม่รู้เบื่อ ทำให้ตลาดสามชุก แห่งนี้ได้รับขนานนามว่า ตลาด 100 ปี พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต
การเดิน ทางไปตลาดสามชุก โดยรถยนต์ เข้าตลาดสามชุก ระยะทางจากกรุงเทพฯ ผ่านอำเภอบางบัวทอง จ.นนทบุรี ไปจนถึง จ.สุพรรณบุรี ระยะทางประมาณ 107 กม. จากนั้นก็ไปตามทางหลวงหมายเลข 340 แยกเข้า อ.สามชุก บริเวณตัวตลาดจะอยู่ริมแม่น้ำสุพรรณบุรี ติดกับที่ว่าการอำเภอสามชุก |
|
 |
บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ
บึงฉวาก เป็นบึงน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2,700 กว่าไร่ อยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองสุพรรณ ประมาณ 64 กิโลเมตร บึงฉวากมีพื้นที่ติดกับอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาทและ อำเภอเดิมบางนางบวช บึงฉวาก ได้รับประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่ามาตั้งแต่ปี 2526และในปี พ.ศ. 2541 ได้รับการจัดให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติตามอนุสัญญาแรม ซาร์ ที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคี เนื่องจากความหลากหลายของพันธุ์พืชและสัตว์ที่มีในบึง ลักษณะที่เรียกว่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำตามอนุสัญญาแรมซาร์ คือ พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่มพื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วม น้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้าง ทั้งที่มีน้ำขังหรือน้ำท่วมถาวรและชั่วคราว ทั้งแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล แหล่งน้ำจืดน้ำกร่อย และ น้ำเค็มรวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเลและทะเลในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดต่ำสุด น้ำลึกไม่ เกิน 6 เมตร ซึ่งบึงฉวากเข้าข่าย
ลักษณะดังกล่าว คือเป็นบึงน้ำจืดขนาดใหญ่ |
|