head

          ข้าวที่เรารับประทานเป็นอาหารอยู่ทุวันนี้  เป็นเมล็ดชนิดพืชชนิดหนึ่งซึ่งอยู่ในตระกูลหญ้า เพราะลำต้นข้าวมีลักษณะภายนอกบางอย่างคล้ายต้นหญ้า ซึ่งแบ่งเป็นชนิดใหญ่ 2 ชนิด คือ  ข้าวเจ้า  และ ข้าวเหนียว   ชาวนาซึ่งมีอยู่ทั่วไปทุกแห่งของประเทศไทยเป็นผู้ปลูกพื้นที่ปลูกข้าวจึมี มากกว่าพืชชนิดอื่น คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 11.3%  ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งประเทศ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ทำนามากที่สุด รองลงมาได้แก่  ภาคเหนือ    และภาคใต้ตามลำดับข้าวนาปีและข้าวนาปรังปกติชาวนาปลูกข้าวในฤดูฝนซึ่งเรียก ว่า “นาปี” เพราะชาวนาใช้น้ำฝนสำหรับปลูกข้าว แต่ในบางพื้นที่ที่มีน้ำชลประทานซึ่งได้จากเขื่อนต่างๆ เช่นเขื่อนเจ้าพระยา ชาวนาจะปลูกข้าวนอกฤดูฝนด้วย ซึ่งเรียกว่า “นาปรัง”ข้าวไร่ ข้าวนาสวน และข้าวนาเมืองข้าวที่ปลูกบนที่ดอนหรือปลูกบนภูเขาซึ่งไม่มีน้ำขังในพื้นที่ ปลูกเรียกว่า “ข้าวไร่” ปลูกมากในภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนข้าวที่ปลูกในที่ลุ่มและมีระดับน้ำในนาลึกไม่เกิน 80 เซนติเมตร เรียกว่า “ข้าวนาสวน” ข้าวนาสวนส่วนมากปลูกแบบปักดำ มีการปลูกข้าวนาสวนทั่วไปในทุกภาค แต่ถ้าเป็นข้าวที่ปลูกในที่ลุ่มและมีน้ำในนาลึกเกิน 80 เซนติเมตรขึ้นไป เรียกว่า “ข้าวนาเมือง” หรือ “ข้าวขึ้นน้ำ” ข้าวนาเมืองส่วนมากปลูกแบบหว่าน และปลูกเฉพาะบางท้องที่ในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  สำหรับการปลูกข้าวส่วนใหญ่ของประเทศไทยนั้นเป็นการปลูกข้าวนาสวน รองลงมาได้แก่ข้าวนาเมือง และ ข้าวนาไร่ตามลำดับ



ความรู้เกี่ยวกับข้าว
1.ลักษณะต้นข้าว

          เมื่อนำเมล็ดข้าวไปเพาะให้งอก โดยแชน้ำนานประมาณ 1-2 ชั่วโมง แล้วนำเมล็ดขึ้นจากน้ำและเก็บไว้ในที่ที่มีความชื้นสูงเมล็ดจะงอกภายใน 48 ชั่วโมง จึงนำเมล็ดที่เริ่มงอกเหล่านี้ไปปลูกในดินที่เปียก ส่วนที่เป็นรากจะเจริญเติบโตลึกลงไปในดิน ส่วนที่เป็นยอดก็จะสูงขึ้นเหนือผิวดินแล้วเปลี่ยนเป็นใบ  ต้นข้าวเล็กๆนี้เรียกว่า “ต้นกล้า” หลังจากต้นกล้ามีอายุประมาณ 40 วัน จะมีหน่อใหม่เกิดขึ้น โดยเจริญเติบโตออกจากตาบริเวณโคนต้น  ต้นกล้าแต่ละต้นสามารถแตกหน่อใหม่ประมาณ 5-15 หน่อ  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธ์ข้าว ระยะปลูก และความอุดมสมบูรณ์ของดิน  แต่หน่อต้นกล้าให้ร่วงข้าวหนึ่งรวง แต่รวงข้าวมีเมล็ดข้าวประมาณ 100-200 เมล็ด  โดยปกติต้นข้าวที่โตเต็มที่แล้วจะมีความสูงจากพื้นดินถึงปลายรวงที่สูงที่ สุดประมาณ100-200 เซนติเมตร  ซึ่งแตกต่างไปตามพันธุ์ข้าวตลอดจนถึงความอุดมสมบูรณ์ของดินและความลึกของ น้ำ 

2. การปลูกข้าว

2.1    วิธีการปลูกข้าวหรือการทำนาในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 วิธี ดังนี้

     2.1.1 การปลูกข้าวไร่ หมายถึง การปลูกข้าวบนที่ดอนไม่มีน้ำขังในพื้นที่ปลูก   ชนิดของข้าวที่ปลูกเรียกว่า “ข้าวไร่” พื้นที่ดอนส่วนมาก เช่น ภูเขา มักจะไม่มีระดับ คือ สูงๆต่ำๆ จึงไม่สามารถไถเตรียมดิน และปรับระดับดินได้ง่ายๆ เหมือนกับพื้นที่ราบ  เพราะฉะนั้นชาวนามักปลูกข้าวแบบหยอด โดยขั้นแรกทำการตัดหญ้าและต้นไม้เล็กออก แล้วจึงทำความสะอาดพื้นที่ที่จะปลูก    แล้วใช้หลักไม้ปลายแหลมเจาะดินเป็นหลุม  ปกติจะต้องหยอดพันธุ์ข้าวทันที่หลังจากที่เจาะหลุม และหลังจากหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวแล้วจะใช้เท้ากลบดินปากหลุม    เมื่อฝนตกหรือเมื่อเมล็ดได้รับความชื้นจากดิน เมล็ดจะงอกและเจริญเติบโตเป็นต้นข้าว  เนื่องจากที่ดอนไม่มีน้ำขังและไม่มีการชลประทาน   การปลูกข้าวไร่จึงต้องใช้น้ำฝนเพียงอย่างเดียว  พื้นที่ปลูกข้าวไร่จะแห้งและขาดน้ำทันที่เมื่อสิ้นหน้าฝน  ดังนั้นการปลูกข้าวไร่จึงต้องใช้พันธุ์ที่มีอายุเบา     โดยปลูกในต้นฤดูฝนและแก่เก็บเกี่ยวได้ในปลายฤดูฝน  ดังนั้นการปลูกข้าวไร่ชาวนาจะต้องหมั่นกำจัดวัชพืช เพราะที่ดอนมักจะมีวัชพืชมากกว่าที่ลุ่ม  พื้นที่ที่ปลูกข้าวไร่ในประเทศไทยมีจำนวนน้อยและปลูกมากในภาคเหนือและภาค ใต้  ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางปลูกข้าวไร่น้อยมาก

     2.1.2.  การปลูกข้าวนาดำ หรือเรียกว่า การปักดำ ซึ่งวิธีการปลูกแบ่งเป็นสองตอน ตอนแรกได้แก่การตกกล้าในแปลขนาดเล็ก และตอนที่สองได้แก่การถอนต้นกล้านำไปปักดินในนาผืนที่ใหญ่  ดังนั้น การปลูกแบบปักดำอาจเรียกว่า Indirect Seeding ซึ่งต้องเตรียมดินที่ดีกว่าการปลูกข้าวไร่  ซึ่งมีการไถดะ การไถแปร และการคราด ปกติการไถและคราดในนาดำมักจะใช้แรงวัวควาย หรือแทรกเตอร์ขนาดเล็กที่เรียกว่า ควายเหล็ก หรือไถยนต์เดินตาม  ทั้งนี้เป็นเพราะพื้นที่นาดำมีคันนาแบ่งกั้นออกเป็นแปลงเล็กๆ ขนาดแปลงละ 1 ไร่ หรือเล็กกว่า  คันนามีไว้เพื่อกักเก็บน้ำ ปล่อยน้ำทิ้งจากแปลงนา  นาดำจึงมีการบังคับน้ำในนาไว้ได้บ้างพอสมควร  การไถดะ หมายถึง การถครั้งแรกเพื่อทำลายวัชพืชในนาและพลิกกลับหน้าดิน แล้วปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์  จึงทำการไถแปรซึ่งหมายถึงการไถตัดกับรอยไถดะ การไถแปรอาจไถมากกว่าหนึ่งครั้ง  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับน้ำในนาตลอดจนถึงชนิดและปริมาณของวัชพืช  เมื่อไถแปรแล้วทำการคราดได้ทันที  การคราดก็คือการคราดเอาวัชพืชออกจากผืนนา และปรับพื้นที่นาให้ได้ระดับเป็นที่ราบเสมอกัน   ด้วยพื้นที่นาที่มีระดับเป็นที่ราบจะทำให้ต้นข้าวได้รับน้ำเท่าๆกัน  และสะดวกต่อการไขน้ำเข้าออกการตกกล้า  หมายถึง การนำเมล็ดหวานให้งอก ใช้เวลาประมาณ 25-30 วัน นับจากวันหว่าน  เมล็ดจะเจริญเติบโตเป็นต้นกล้าที่มีขนาดโตพอที่จะถอนนำไปปักดำได้

      การปักดำ  คือ การนำต้นกล้าที่ถอนขึ้นจากแปลงแล้วมัดรวมกันเป็นมัดๆ  จะต้องสลัดดินโคลนที่รากออก แล้วนำไปปักดำในพื้นที่นาที่ได้เตรียมไว้ ถ้าต้นกล้าสูงมากก็ตัดปลายใบทิ้ง  พื้นที่นาที่ใช้ปักดำควรมีน้ำขังอยู่ประมาณ 5-10 เซนติเมตร  เพราะต้นข้าวอาจถูกลมพัดจนพับลงได้เมื่อนานั้นไม่มีน้ำขังอยู่เลย  ถ้าระดับน้ำในนั้นลึกมากต้นข้าวที่ปักดำอาจจมน้ำในระยะแรก และ ข้าวจะต้องยืดต้นมากกว่าปกติ จนผลให้แตกกอน้อย การปักดำที่ได้ผลผลิตสูงจะต้องปักดำให้เป็นแถวเป็นแนว และมีระยะห่างระหว่างกอมากพอสมควร

     2.1.3 การปลูกข้าวนาหว่าน  เป็นการปลูกข้าวโดยเอาเมล็ดพันธุ์หว่านลงในพื้นที่นาที่ไถเตรียมไว้โดยตรง ซึ่งเรียกว่า “Direct Seeding” การเตรียมดินก็คือการไถดะและไถแปร ชาวนาจะเริ่มไถนาสำหรับปลูกข้าวนาหว่านตั้งแต่เดือนเมษายน  เนื่องจากพื้นที่นาสำหรับปลูกข้าวนาหว่านไม่มีคันนากั้นจึงสะดวกแก่การไถ ด้วยแทรกเตอร์ขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตามยังมีชาวนาจำนวนมากใช้แรงงาน วัวและควายไถนา การปลูกข้าวนาหว่านมีหลายวิธีด้วยกัน  เช่น การหว่านสำรวย การหว่านคราดกลบหรือไถกลบ   การหว่านหลังขี้ไถ  และการหว่านน้ำตมการหว่านสำรวย  การหว่านวิธีนี้ชาวนาจะหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ยังไม่ได้เพาะให้งอกลงใน พื้นที่นาเตรียมดินโดยการไถดะและไถแปรไว้แล้วโดยตรง  เมล็ดพันธุ์ที่หว่านลงไปตกลงปอยู่ในซอกระหว่างก้อนดินและรอยไถ  เมื่อฝนตกพื้นดินเปียกและเมล็ดได้รับความชื้น  เมล็ดข้าวจะงอกเป็นต้นกล้า  การหวานวิธีนี้ใช้เฉพาะท้องที่ซึ่งดินมีความชื้นพออยู่แล้วการหว่านคราดกลบ หรือไถกลบ  ชาวนาจะทำการไถดะและไถแปร แล้วจึงนำเมล็ดที่ยังไม่ได้เพาะให้งอกหว่านลงไปทันทีแล้วคราด หรือไถเพื่อกลบเมล็ดที่หว่านลงไปอีกครั้งหนึ่ง  เนื่องจากดินมีความชื้นอยู่แล้วเมล็ดจะเริ่มงอกทันทีหลังจากหว่านลงดิน  การตั้งตัวของต้นกล้าจะตั้งตัวดีกว่าการหว่านสำรวย เพราะเมล็ดที่หว่านถูกกลบฝังลึกลงในดินการหว่านน้ำตม  การหว่านแบบนี้นิยมใช้ในพื้นที่มีน้ำขังประมาณ 3-5 เซนติเมตร และพื้นที่นาเป็นผืนใหญ่ขนาดประมาณ 1-2 ไร่ มีคันนากั้นเป็นแปลง  การเตรียมดินทำเหมือนกับการเตรียมดินสำหรับนาดำ  ซึ่งมีการไถดะ ไถแปร และคราดเพื่อเก็บวัชพืชออกจากพื้นนา  แล้วจึงทิ้งให้ดินตกตะกอนจนเห็นว่าน้ำใส จึงนำเมล็ดพันธุ์ที่เพาะให้งอกแล้วหว่านลงนาและไขน้ำออก เมล็ดจะเจริญเติบโตเป็นต้นข้าว และเจริญเติบโตอย่างข้าวอื่นๆ ตามปกติ  การหว่านแบบนี้นิยมทำกันในท้องที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ทำการปลูกข้าวนาปรัง

2.2 การดูแลรักษา
           ในระหว่างการเจริญเติบโตของต้นข้าว ตั้งแต่การหยอดเมล็ด การหว่านเมล็ด การปักดำต้นข้าวต้องการน้ำและปุ๋ยสำหรับการเจริญเติบโต  ในระหว่างนี้ต้นข้าวอาจถูกโรคและแมลงศัตรูข้าวหลายชนิดเข้าทำลายต้นข้าว  โดยทำให้ต้นข้าวแห้งตายหรือผลผลิตต่ำและคุณภาพเมล็ดไม่ได้มาตราฐาน  เพาะฉะนั้นนอกจากจะมีวิธีการปลูกที่ดีแล้วจะต้องมีวิธีการดูแลที่ดีอีกด้วย  ทั้งการกำจัดวัชพืช  ใส่ปุ๋ยและพ่นยาเคมี  เพื่อป้องกันและกำจัดโรคแมลงศัตรูที่อาจเกิดระบาดขึ้นได้

2.3  การเก็บเกี่ยว
           สามารถทำได้ในสัปดาห์ที่สี่หลังจากข้าวออกดอกแล้วประมาณ 28-30 วัน  ชาวนภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางใช่เคียวสำหรับเกี่ยวข้าวที่ละหลายๆ รวง  ส่วนชาวนสภาคใต้ใช้แกระสำหรับเกี่ยวข้าวทีละรวง  เคียวที่ใช้เกี่ยวข้าวมี 2 ชนิด ได้แก่  เคียวนาสวน   และเคียวนาเมือง  เคียวนาสวนเป็นเคียวกว้าง  ใช้สำหรับเกี่ยวข้าวนาสวนที่ปลูกไว้แบบปักดำ  ส่วนเคียวนาเมืองเป็นเคียววงแคบและมีด้ามยาวกว่าเคียวนาสวน  เคียวนาเมืองใช้เกี่ยวข้าวนาเมืองที่ปลูกไว้แบบหว่าน  ข้าวที่เกี่ยวด้วยเคียวไม่จำเป็นต้องมีคอรวงยาว  เพราะข้าวที่ถูกเกี่ยวมาจะถูกมัดเป็นกำๆ   ส่วนข้าวที่ถูกเกี่ยวด้วยแกระจำเป็นต้องมีคอรวงยาวเพราะชาวนาต้องเกี่ยวรวง ที่ละรวงแล้วมัดเป็นกำๆ  ข้าวที่ถูกเกี่ยวด้วยแกระชาวนาจะเก็บไว้ในยุ้งฉางซึ่งโปร่ง มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก    และจะทำการนวดเมื่อต้องการขายหรือต้องการสีเป็นข้าวสาร  ข้าวที่เกี่ยวด้วยเคียวซึ่งปลูกไว้แบบปักดำ  ชาวนาจะทิ้งไว้ในนาบนตอซังเพื่อตากแดดให้แห้งเป็นเวลา  3-5 วัน  สำหรับข้าวที่ปลูกแบบหว่านพื้นที่นาจะแห้งในระยะเก็บเกี่ยว  ข้าวจึงแห้งก่อนเก็บเกี่ยว  ข้าวที่เกี่ยวแล้วจะถูกกองทิ้งไว้บนพื้นที่นาเป็นรูปต่างๆ กันเป็นเวลา 5-7 วัน เช่น รูปสามเหลี่ยม  แล้วจึงนำมาที่ลานนวด  ข้าวที่นวดแล้วจะถูกนำไปเก็บในยุ้งฉางหรือส่งไปขายที่โรงสีทันทีก็ได้

2.4  การนวดข้าว
           หมายถึงการนำเมล็ดข้าวออกจากรวงและทำความสะอาด  เพื่อแยกเมล็ดข้าวลีบและเศษฟางออก  เหลือไว้เฉพาะเมล็ดข้าวเปลือกที่ต้องการเท่านั้น
 ซึ่งการนวดข้าวสามารถ ทำได้หลายวิธี เช่น การนวดข้าวโดยใช้แรงสัตว์ (วัว ควาย) การนวดแบบฟาดกำข้าว การนวดแบบใช้เครื่องทุ่นแรง (เครื่องหมุนตีร่วงข้าว) และการนวกแบบใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ (คอมไบน์)โดยเริ่มจากการนำข้าวที่เกี่ยวจากนาไปกองไว้ที่ลานสำหรับนวดข้าว  การกองข้าวมีหลายวิธี  แต่หลักสำคัญคือการกองข้าวจะต้องเป็นระเบียบ  ถ้ากองไม่เป็นระเบียบมัดข้าวะอยู่สูงๆ ต่ำๆ ทำให้เมล็ดข้าวได้รับความเสียหายและคุณภาพต่ำ       โดยปกติแล้วจะกองเป็นวงกลม  หลังจากข้าวนวดแล้ว ชาวนามักจะที่ตากข้าวให้แห้งเป็นเวลา 5-7 วัน  เพื่อลดความชื้นในเมล็ดข้าว     ข้าวที่เกี่ยวใหม่ๆ มีความชื้นประมาณ 20-25 % หลังจากตากแล้วเมล็ดข้าวจะมีความชื้นเหลือประมาณ 13-15%  เมล็ด  

2.5  การทำความสะอาดเมล็ด
          เมล็ดข้าวที่ได้จากการนวดมักมีสิ่งเจือปน เช่น ดิน กรวด ทราย เมล็ดลีบ ฟางข้าวทำให้ขายได้ราคาต่ำ ฉะนั้นชาวนาจะทำความสะอาดเมล็ดก่อนที่จะนำข้าวเปลือกเก็บเข้ายุ้งฉางหรือขาย ให้พ่อค้า  การทำความสะอาดเมล็ด หมายถึง  การนำข้าวเปลือกออกจากสิ่งเจือปนอื่นๆ ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น การสาดข้าว การใช้กระด้งฝัด และการใช้เครื่องฝัด

2.6  การตากข้าว
          เพื่อรักษาคุณภาพเมล็ดข้าวให้ได้มาตราฐานเป็นเวลานานๆ  หลังจากนวดและทำความสะอาดเมล็ดข้าวแล้ว   จำเป็นต้องนำข้าวเปลือกไปตากอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะนำไปเก็นในยุ้งฉาง  เพื่อให้ข้าวเปลือกแห้งและมีความชื้นประมาณ   13-15%  เมล็ดข้าวในยุ้งที่มีความชื้นสูงกว่านี้จะทำให้เกิดความร้อนสูงจนคุณภาพข้าว เสื่อม  และอาจทำให้เชื้อราติดมากับเมล็ด และขยายพันธุ์ทำลายเมล็ดข้าวเปลือกได้เป็นจำนวนมาก  การตากข้าวควรตากบนลานที่สามารถแผ่กระจายเมล็ดข้าวให้ด้รับแสงโดยทั่วถึง กัน  ควรตากแดดนานประมาณ 3-4 แดด   ในต่างประเทศใช้เครื่องอบข้าวเพื่อลดความชื้นในเมล็ดข้าว เรียกว่า Drier  โดยให้เมล็ดข้าวผ่านอากาศร้อน

2.7  การเก็บรักษาข้าว 
         หลังจากชาวนาตากเมล็ดข้าวจนแห้ง  และความชื้นอยู่ประมาณ  13-15% แล้ว ชาวนาจะเก็บข้าวไว้ในยุ้งข้าว เพื่อบริโภคและแบ่งขายเมื่อราคาสูง  และอีกส่วนหนึ่งชาวนาจะแบ่งไว้เป็นเมล็ดพันธุ์  ดังนั้นข้าวพวกนี้จะถูกเก็บเป็นอย่างดี    เพื่อรักษาข้าวให้มีคุณภาพได้มาตราฐานอยู่ตลอดเวลาและไม่สูญเสียความงอก  ข้าวพวกนี้ควรเก็บไว้ในยุ้งที่ดีซึ่งทำจากไม้ยกพื้นสูงอย่างน้อย 1 เมตร เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกและระบายความชื้นและความร้อนออกไปจากยุ้ง นอกจากนี้หลังคาของยุ้งจะต้องไม่รั่ว  และสามารถกันน้ำฝนไม่ให้หยอดลงในยุ้งได้  ก่อนนำข้าวเก็บในยุ้งควรทำความสะอาดเสียก่อน  โดยปัดกวาดแล้วพ่นด้วยยาฆ่าแมลง

บริษัท พี พี แอนด์ พี ทรานสปอร์ต จำกัด
222 ถนนสุพรรณบุรี-ชัยนาท ต.วังน้ำซับ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี 72140 | โทรศัพท์ : สุพรรณ : 035-582-591 ถึง 2
กรุงเทพฯ : 02-270-0396 ถึง 7 | E-Mail : manitbuathong@hotmail.com